เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ภาษาไทย พล
ภาษาไทยท็อปห้อง
ต้องครูพล

ภาษาไทย พล

Tutor‘s tip

หน้าที่ของคำนาม ในภาษาไทยที่คนไทยควรรู้
  • Kru Pol
  • 14.07.2565
  • 558

หน้าที่ของคำนาม ในภาษาไทยที่คนไทยควรรู้ 


​สวัสดี และทักทายน้อง ๆนะครับ ครูพลนะครับ ครูพลรับหน้าที่สอน วิชาภาษาไทย ระดับประถมศึกษานะครับ หากน้อง ๆ อยากเรียนภาษาไทยแบบเข้าใจ ไม่กดดัน แถมสอบได้คะแนนดี ๆ มาเรียนกับครูพลได้ที่ megastudy นะครับเด็ก ๆ วันนี้นะครับครูก็มีความรู้เกี่ยวกับ หน้าที่ของคำนามนะครับ เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนต้องทราบกันนะครับ

 

ก่อนอื่นเลย คำนามคือ สิ่งที่ไว้ใช้เรียกชื่อเรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ที่เป็นรูปธรรม คือจับต้องได้ หรือชื่อเรียกสิ่งที่เป็นนามธรรม คือจับต้องไม่ได้ก็ได้เช่นกัน 

คำนามจะทำหน้าที่เป็นประธาน และกรรมของประโยค ใช้ระบุบ่งชี้ถึงสิ่งต่างๆ เพื่อให้รู้ว่ากำลังพูดถึงใคร หรืออะไร ซึ่งแบ่งเป็น 5 ชนิดคือ

1.) สามานยนาม คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วไป เช่น นก ปลา คน 

2.) วิสามานยนาม คือ คำนามเป็นชื่อเฉพาะ อย่างเช่น ชื่อคน 

3.) สมุหนาม คือ คำนามบอกหมวดหมู่ ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ ที่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ฝูงสัตว์กำลังแตกตื่น

4.) ลักษณนาม คือ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของคำสามานยนาม เช่น รถ 6 คัน

5.) อาการนาม คือ เป็นคำนามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "การ” หรือ "ความ” นำหน้า โดยคำว่า "การ” มักนำหน้าคำกริยา เช่น การเดิน  การวิ่ง ส่วน "ความ"มักนำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น ความสุข ความสำเร็จ


มาถึงเรื่องของ หน้าที่ของคำนามกันแล้วนะครับเด็ก ๆ ซึ่งคำนามทำหน้าที่ต่าง ๆ ในประโยคดังนี้เลยครับ


- เป็นประธานของประโยค เช่น เหล่าทหารกำลังซ้อมรบ

- เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันกินข้าว

- ใช้ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น นายแสงคนขับรถขับรถไปรับพ่อของสมพงษ์

- เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น เขาเป็นครูแต่น้องเป็นช่าง

- ใช้ตามหลังคำบุพบท เพื่อบอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้ชัดเจนขึ้น เช่น เธออยู่ในห้อง (ตามหลังบุพบท ใน)

- ใช้บอกเวลา โดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น  การประชุมจะจัดขึ้นทุกวันศุกร์

- ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น คุณแม่คะคุณป้ามาหาค่ะ

 

​​​