เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
สังคมศึกษา เบียร์
ติวเข้มสังคม
กับครูเบียร์

สังคมศึกษา เบียร์

Tutor‘s tip

กิจกรรมทางเศรศฐกิจ
  • ครูเบียร์
  • 06.02.2566
  • 244

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ


 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบไปด้วย การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และกระจาย

 1.  การผลิต
1.1  ความหมาย การนำปัจจัยการผลิตมาสร้างสินค้าและบริการ
1.2  ประเภทของการผลิต
1.  การแปรรูป เช่น นำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร
2.  การเลื่อนเวลาใช้สอย เช่น นำผลไม้สดมาผลิตเป็นผลไม้กระป๋องเพื่อถนอมไว้บริโภคนอกฤดูกาล
3.  การเปลี่ยนสถานที่ เช่น พ่อค้าขายส่งสินค้าไปยังร้านค้าปลีก
4.  การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การซื่อขาย, นายหน้าขายสินค้า
5.  การให้บริการ เช่น แพทย์ ทนายความ บริการขนส่ง การประกันภัย
1.3  ปัจจัยการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้า-บริการ
1.  ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
2.  ทุนหรือสินค้าทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต เช่น เครื่องมือเครื่องจักร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับทุน (สินค้าทุน)
1. ทุนแท้จริง (สินค้าทุน) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิต จึงต่างจากเงินทุน ซึ่งหมายถึงเงินที่นำไปซื้อสินค้าทุน
2. สินค้าทุน คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิต จึงต่างจากสินค้าบริโภค ซึ่งหมายถึง สินค้าที่นำไปใช้บริโภคโดยตรง
3. แรงงาน : แรงงานมนุษย์
หลักการสำคัญประการหนึ่งในการทำงาน คือ การแบ่งงานกันทำ ที่ทำให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านในการผลิต (Specialization) และความรวดเร็วในการทำงาน
4. การประกอบการ : การบริหารปัจจัยการผลิตประเภทอื่นๆ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ, แรงงาน และทุน) รวมทั้งรับภาวะความเสี่ยงในธุรกิจ


2.  การบริโภค
2.1  การบริโภค คือ การใช้สินค้า-บริการสนองความต้องการ
2.2  สินค้าที่ใช้ในการบริโภคมีทั้งสินค้าคงทน เช่น เสื้อผ้า นาฬิกา รถยนต์ และสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง
2.3  ปัจจัยที่กำหนดการบริโภค ได้แก่
-  ราคาสินค้า
-  รายได้ของผู้บริโภค
-  รสนิยมของผู้บริโภค
-  การโฆษณาและกลวิธีการขาย
2.4  กฎของเองเกล "เมื่อประชาชนมีรายได้มากขึ้น จะหันไปบริโภคสินค้าที่ไม่ใช่อาหารในสัดส่วนที่มากขึ้น"


3. การแลกเปลี่ยน
3.1  การแลกเปลี่ยน หมายถึง การนำสินค้าบริการมาแลกเปลี่ยนกันโดยวิธีการต่างๆ
3.2  ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน คือ การแบ่งงานกันทำและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)
3.3  วิวัฒนาการแลกเปลี่ยน
1.  การแลกเปลี่ยนโดยตรง (Barter System)
-  เป็นการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ
-  มีข้อเสีย คือ
1.  อีกฝ่ายต้องมีสินค้าบริการที่อีกฝ่ายต้องการ การแลกเปลี่ยนจึงจะเกิดขึ้นได้ 
2.  สินค้าและบริการจำนวนมากไม่สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยได้
3.  สินค้าไม่เหมาะที่จะเป็นหน่วยวัดมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยน
4.  สินค้าบางชนิดเก็บได้ไม่นาน
2.  การใช้เงินเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (Exchange System with money)
-  เงิน คือ สิ่งที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้การแลกเปลี่ยนสะดวกรวดเร็วขึ้น
-  หน้าที่ของเงิน 
1. สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของเงิน
2. เครื่องวัดมูลค่า โดยกำหนดเป็น"ราคา"
3. มาตรฐานการชำระหนี้ภายใน
4. รักษามูลค่า
-  ประเภทของเงิน 
1.  เงินปฐมภูมิ (เงินผลิตภัณฑ์) : เงินที่มีมูลค่าในตัวเอง คือ เงินที่ทำหน้าที่เหมือนสินค้าทั่วๆไปด้วย เช่น หนังสัตว์ แร่ธาตุต่างๆ
2.  เงินทุติยภูมิ (เงินที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์) : เงินที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลก
เปลี่ยนเท่านั้นไม่มีมูลค่าในตัวเอง
-  ปัจจุบัน เงินแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร และเงินฝากกระแสรายวัน (เช็ค) ซึ่งทั้งหมดจัดเป็นเงินทุติยภูมิ
3.  การใช้เครดิต เช่น เช็คเดินทาง ตั๋วแลกเงิน
3.4  สถาบันเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน : คนกลาง ตลาด และธนาคาร
1.  คนกลาง คือ ตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้การซื้อขายสินค้าบริการสะดวกและรวดเร็ว
2.  ตลาด คือ สถานที่ที่มีการซื้อขายกัน 


4.  การกระจาย (การแบ่งสรร)  
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
4.1  การกระจายสินค้าบริการ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
4.2  การกระจายรายได้ ให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิต