เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ภาษาไทย พล
ภาษาไทยท็อปห้อง
ต้องครูพล

ภาษาไทย พล

Tutor‘s tip

เสียงในภาษาไทย..... มีกี่เสียง
  • ครูพล
  • 27.12.2565
  • 232

เสียงในภาษาไทย..... มีกี่เสียง

​                เราเคยสงสัยกันไหม ว่าคำที่เราเปล่งเสียงออกมา ประโยคที่เราพูด ๆ กัน มันประกอบจากเสียงอะไร  

วันนี้เราจะมาดูกันว่า เสียงในภาษาไทยมีอะไรบ้าง

 

ความหมายของเสียงในภาษา​

          เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น 

ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด  

 

ชนิดของเสียงในภาษา

          เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ    ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี             

๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน 

ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 

- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น 

สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ 

สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ 

- สระประสม มีจำนวน ๓ เสียง 

๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก 

ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้   

๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี 

สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังต่อไปนี้ เสียงวรรณยุกต์ รูปวรรณยุกต์ 

 ๑. เสียงสามัญ ๒. เสียงเอก ๓. เสียงโท ๔. เสียงตรี ๕. เสียงจัตวา (ไม่มีรูป) ่ ้ ๊ ๋ กิน ตา งง ข่าว ปาก ศัพท์ ชอบ นั่ง ใกล้ งิ้ว รัก เกี๊ยะ ฉัน หนังสือ เก๋