เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
สังคมศึกษา เบียร์
ติวเข้มสังคม
กับครูเบียร์

สังคมศึกษา เบียร์

Tutor‘s tip

ทำความรู้จัก G20 กลุ่มที่หลายประทศอยากเข้าร่วม
  • ครูเบียร์
  • 22.11.2565
  • 270

 ทำความรู้จัก G20 กลุ่มที่หลายประทศอยากเข้าร่วม

​         ในการเรียนวิชาสังคม เราจะได้เจอเนื้อหา ศาสนา  ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และสังคม   ซึ่งเราจะได้เรียนองค์กรต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ เช่น อาเซียน OPEC APEC เป็นต้น 

ซึ่งกลุ่ม G20 ก็เป็นภลุ่มที่มีความสำคัญกลุ่มหนึ่งของโลก  วันนี้เราจึงมาทำความรู้จัก G20 กัน

 

></p><p style= 

  • G20 ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙) เป็นกรอบการหารืออย่างไม่เป็นทางการเพื่อสนองตอบต่อวิกฤตการเงินในช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๙๐ โดยการหารือมุ่งเน้นใน ๓ ประเด็นหลัก คือ

(๑) เศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินโลก 

(๒) การเพิ่มความแข็งแกร่งของโครงสร้างทางการเงิน 

และ (๓) การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

 

  • สมาชิกของ G20 ประกอบด้วยผู้แทนสหภาพยุโรป และอีก ๑๙ ประเทศ ได้แก่ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ๘ ประเทศ (ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา                                และออสเตรเลีย) และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ ๑๑ ประเทศ (ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี)                                                    ทั้งนี้ ขนาดเศรษฐกิจของสมาชิก G20 คิดเป็นร้อยละ ๙๐ ของเศรษฐกิจโลก และมีจำนวนประชากรรวมกันประมาณ ๒ ใน ๓ ของโลก

  • เดิม G20 เป็นการประชุมระดับ รมว. คลัง และผู้ว่าการธนาคารกลาง โดยมีผู้อำนวยการ IMF และประธานธนาคารโลก เข้าร่วมโดยตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม                                                                                          วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี ๒๕๕๑ ส่งผลให้มีการยกระดับการประชุม G20 เป็นระดับผู้นำ โดยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นเวทีหลัก (premier forum)                                 สำหรับผู้นำประเทศสมาชิกในการหารือประเด็นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

  • ประธาน G20 มาจากการหมุนเวียนระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีประเทศที่จะดำรงตำแหน่งประธานและเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ G20 ในอนาคตอันใกล้ ดังนี้
    • ปี ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) กรุงบัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา
    • ปี ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙)  นครโอซากา ญี่ปุ่น
    • ปี ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐)   กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย

  • ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ประเทศเจ้าภาพจะสามารถเชิญแขกเข้าร่วมการประชุมได้จำนวนหนึ่ง โดยที่ผ่านมา จะเชิญผู้นำประเทศที่ดำรงตำแหน่งประธาน (๑) อาเซียน (๒) African Union (AU) (๓) New Partnership for Africa’s Development (NEPAD) (๔) Global Governance Good (3G) และ (๕) สเปน ในฐานะแขกรับเชิญถาวร (Permanent Guest Invitee) รวมถึงเจ้าภาพอาจเชิญผู้นำจากประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีเพิ่มเติมอีก ๒ ประเทศ