เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
สังคมศึกษา เบียร์
ติวเข้มสังคม
กับครูเบียร์

สังคมศึกษา เบียร์

Tutor‘s tip

เจาะลึกข้อมูลพื้นฐาน APEC
  • ครูเบียร์
  • 16.11.2565
  • 268

เจาะลึกข้อมูลพื้นฐาน  APEC  

   ถ้าให้ใครหลายคนนึกถึงองค์การระหว่างประเทศ กรอบความร่วมมือระหว่างประทศ คนหลายคนอาจนึกไปถึง องค์การสหประชาชาติ หรือ ที่ทุกคนรู้จักกันในนาม UN นั้นเอง      และอีกชื่่อของกลุ่ม​ความร่วมมือที่ใครหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อ นั้นก็คือ OPEC นั้นเอง ซึ่งนอกจากชื่อองค์กร กรอบความร่วมมือที่ยกตัวอย่างแล้ว ยังมีอีกกรอบความร่วมมือ

ที่สำคัญมากเลยก็ว่าได้ วันนี้ทาง megastudy ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน 

 

><span style=

ทำความรู้จัก APEC

    APEC มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Asia-Pacific Economic Cooperation  ย่อได้คือ APEC  แล้วสรุปคืออะไรกันแน่  APEC คือกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลายคนยังจำเนื้อหาในวิชาสังคมกันได้ใช่ไหม ระดับของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนานาประเทศ ตั้งแต่สหภาพ กลุ่มความร่วมมือต่าง ๆ  

และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค และเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิก

สนใจการดำเนินงานยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา 

ประเทศออสเตรเลีย  ขณะนี้เอเปคมีสมาชิกรวม 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย 

มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย จีนไทเป ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม

 

กลไกการทำงานของเอเปค

แบ่งการดำเนินงานออกเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้

 

๑. ระดับนโยบาย

  ๑.๑ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Meeting หรือ AELM)
  ๑.๒ การประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting หรือ AMM)
  ๑.๓ การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting หรือ MRT)
  ๑.๔ การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปค (APEC Finance Ministerial Meeting หรือ FMM)
  ๑.๕ การประชุมรัฐมนตรีสาขาต่าง ๆ (Sectoral Ministerial Meetings)

 

๒. ระดับปฏิบัติ

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials’ Meeting หรือ SOM) ซึ่งกำกับดูแลผลการประชุมของคณะกรรมการหลัก ๔ เสาคือ 

(๑) คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment หรือ CTI) 

(๒) คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (Budget and Management Committee หรือ BMC) 

(๓) คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (Economic Committee หรือ EC) 

และ (๔) คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Steering Committee on Economic and Technical Cooperation หรือ SCE) 

และมีการประชุมระดับคณะทำงานอีกจำนวนมากภายใต้คณะกรรมการทั้งสี่ 

 

๓. สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council หรือ ABAC)