เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ภาษาไทย พล
ภาษาไทยท็อปห้อง
ต้องครูพล

ภาษาไทย พล

Tutor‘s tip

หลักการเขียนการันต์
  • ครูพล
  • 12.07.2566
  • 156

หลักการใช้การันต์

      ในภาษาไทยมีหลักการเขียน การใช้คำที่หลากหลาย เยอะมาก เหมือนกับภาษาอื่น ๆ   แต่น้องกลายคนอาจจะยังมีปัญหา โดยเฉพาะหารสะกดคำ 

บางคนอาจเขียนพยัญชนะผิด อาจสะกดสระผิด เขียนผิดเขียนถูก วันนี้ครูพลเลยจะมาพาน้อง ๆ ไปดูหลักการเขียนตัวการันต์กัน

 

๑. พยัญชนะตัวเดียว ถ้าไม่ต้องการให้เป็นตัวสะกด หรืออ่านเป็นอีกพยางค์หนึ่งแล้วก็นับว่าเป็นตัวการันต์ ซึ่งจำต้องใส่ไม้ทัณฑฆาตลงไป 

เช่น "ต้นโพธิ์” การันต์ที่ตัว "ธิ” ก็อ่านว่า "ต้น-โพ” ถ้าต้องการออกเสียงเป็นตัวสะกด ก็ไม่ต้องมีไม้ทัณฑฆาต เช่น "อำเภอศรีมหาโพธิ” ก็อ่านว่า "อำ-เพอ-สี-มะ-หา-โพด”

๒. อักษรควบทั้งปวง ต้องนับว่าเป็นตัวสะกดทั้งคู่ เว้นแต่อักษรควบไม่แท้ ที่มีเสียงตัวหน้าอ่อน คือ ร ควบกับตัวอื่น ถ้าต้องการเอาตัว ร สะกดตัวเดียว 

เช่น ธรรม์ (ม การันต์) สรรค์ (ค การันต์) สรรพ์ (พ การันต์) ฯลฯ อย่างนี้ตัวหน้า คือตัว ร เป็นตัวสะกด ตัวหลังคือ ม ค พ เป็นตัวการันต์ อย่างนี้ต้องใส่ไม้ทัณฑฆาต

๓. อักษรนำทั้งปวง ตัวนำเป็นตัวสะกด ตัวตามหลังถ้าไม่เป็นพยางค์ต่อไป ต้องนับว่าเป็นตัวการันต์ 

เช่น ยักษ์ สัตว์ สงฆ์ อย่างนี้ ตัว ก ต ง เป็นตัวสะกด ตัวหลัง คือ ษ ว ฆ เป็นตัวการันต์