เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ภาษาไทย เกศ
เรียนไทยให้ถึงแก่น
ต้องครูเกศเท่านั้น

ภาษาไทย เกศ

Tutor‘s tip

วันภาษาไทยมีที่มาอย่างไร
  • ครูเกศ
  • 01.06.2566
  • 343

วันภาษาไทยมีที่มาอย่างไร

​          ภาษาไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชาชนชาวไทย เป็นภาษาประจำชาติ เป็นภาษาราชการ เป็นภาษาที่ปวงชนชาวไทยใช้สื่อสารกันอยู่ทุกวัน

เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรูษ สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมการสื่อสาร แต่เมื่อการเวลาผ่านไป อิทธิพลจากนานาประเทศได้แพร่หลายเข้ามา

และภาษาไทยไม่ใช่ภาษาที่ตายไปแล้ว มีการคิดค้นคำเพิ่มกันอย่างกว้างขว้างตามแต่ละยุคสมัย แต่เพื่อไม่ให้เราหลงลืมภาษาไทยดั่งเดิม ทั้งคำและหลักการใช้ 

จึงได้เกิดวันภาษาไทยขึ้นนั้นเอง

 

ประวัติความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

           วันภาษาไทยแห่งชาติ มีขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย ในราวปี พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ "ลายสือไทย" ขึ้นเป็นครั้งแรก 
ดัดแปลงมาจากอักษรมอญและเขมร มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เพื่อใช้แทนความหมายและเสียงต่างๆ ในภาษาไทย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น "อักษรไทย" ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั่นเอง
          สำหรับวันภาษาไทยแห่งชาติ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2542 โดยมีความเป็นมาจากเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) 
เสด็จพระราชดำเนินไปอภิปรายหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505 
พระองค์ท่านทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย โดยทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

"เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียงคือ 

ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว 

ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก" 

 

ขอบคุณที่มา https://www.thairath.co.th/lifestyle/calendar/2148276http://www.cu100.chula.ac.th/story/464/