เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
สังคมศึกษา เบียร์
ติวเข้มสังคม
กับครูเบียร์

สังคมศึกษา เบียร์

Tutor‘s tip

สถาบันการเงิน
  • ครูเบียร์
  • 16.02.2566
  • 247

 

สถาบันการเงิน

 1.  ธนาคารกลาง

 1.1  ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีสำนักงานสาขา
 1.2  หน้าที่สำคัญ
  ** รักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ **
 1.  ด้านการเงิน
      -  ออกธนบัตร
      -  ควบคุมประมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยกำหนดนโยบายการเงิน
 2.  ด้านเป็นตัวกลาง
      -  เป็นนายธนาคารของรัฐบาล
       -  เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
      -  ควบคุมสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน - หลักทรัพย์
 3.  ด้านระดับประเทศ
      -  ดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
      -  รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ
      -  ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ


 2.  ธนาคารพาณิชย์

 2.1  ธนาคารพาณิชย์มี 2 ระบบ คือ ระบบธนาคารอิสระ และระบบธนาคารสาขา
 2.2  หน้าที่สำคัญ
  1.  รับฝากเงิน และให้กู้ยืม การฝากเงินอาจฝากแบบกระแสรายวัน ออมทรัพย์ และฝากประจำ
  2.  โอนเงิน
  3.  เรียกเก็บเงินแทนลูกค้า
  4.  ให้เช่าตู้นิรภัย
  5.  ให้บริการสนับสนุนธุรกิจ เช่น ออก L.C.(Letter of Credit) และ Bank Garantee
  6.  บริการพิเศษ เช่น ชำระค่าทะเบียนพาหนะ ชำระค่าไฟฟ้า - ค่าน้ำประปา - โทรศัพท์


 3.  ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ

  3.1  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  -  จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินมาให้เกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ
  3.2  ธนาคารออมสิน
  -  จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนมาให้รัฐบาลกู้เพื่อพัฒนาประเทศ (โดยลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล)
  3.3  ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  -  จัดตั้งเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยของตัวเอง


 4.  สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร

      สถาบันการเงินประเภทนี้จะต่างจากธนาคารที่ วิธีการระดมเงินทุนหรือวิธีการให้กู้ยืมและเงื่อนไขของกฎหมาย
 4.1  บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
  -  ระดมเงินทุนมาให้กู้ยืมในสาขาอุตสาหกรรม
  -  เป็นสถาบันฯ ของเอกชน มีสำนักงานสาขา
 4.2  สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม[SIFCT)
  -  จัดตั้งเพื่อให้เงินกู้แก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม (กู้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท)
  -  สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไม่มีสำนักงานสาขา
 4.3  บริษัทเงินทุน
  -  รับฝากเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่รับฝากเงินโดยเปิดบัญชีกระแสรายวัน
4.4  บริษัทหลักทรัพย์
  -  เป็นนายหน้าที่ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ เช่น หุ้น พันธบัตร และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน
 4.5  บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
  -  รับฝากเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
  -  ให้กู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยขายบ้านและที่ดินด้วยวิธีการเช่าซื้อ
 4.6  บริษัทประกันภัย
  -  ทำหน้าที่โอนความเสี่ยงเฉลี่ยกระจายไปให้คนจำนวนมาก (และเป็นการออมไปในตัว ในกรณีของการประกันชีวิตแบบออมทรัพย์)
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงพาณิชย์
 4.7  สหกรณ์การเกษตร
  -  จัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่สมาชิก (เงินกู้ส่วนใหญ่ได้มาจาก ธ.ก.ส.)
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตรฯ
 4.8  สหกรณ์ออมทรัพย์
  -  แต่ละเดือน สมาชิกจะถูกหักรายได้ส่วนหนึ่งจากเงินเดือนมาเก็บสะสมไว้ที่สหกรณ์
  -  ทางสหกรณ์จะนำเงินทั้งหมดมาจัดสรรเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำให้สมาชิกกู้
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงเกษตรฯ
 4.9  โรงรับจำนำ
  -  มีทั้งที่เป็นของเอกชน กรมประชาสงเคราะห์ (สถานธนานุเคราะห์) และของเทศบาล (สถานธนานุบาล)
  -  อยู่ในความควบคุมของกระทรวงมหาดไทย ไม่มีสำนักงานสาขา 

ในสถาบันการเงิน จะมี "ภาวะเงินตึงตัว" คือ ภาวะที่ปริมาณเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การกู้ยืม เป็นภาวะสั้นๆ ที่เกิดเป็นครั้งคราว