เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ฟิสิกส์ ปัน
ฟิสิกส์ครูปัน
1,000 โจทย์ก็ทำได้

ฟิสิกส์ ปัน

Tutor‘s tip

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระดับเสียง
  • ครูปัน
  • 02.02.2566
  • 290

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับระดับเสียง

ในการวัดระดับความดังของเสียง มีหน่วยที่เรียกว่า "เดซิเบล (DECIBEL)” ตามปกติคนเราจะเริ่มได้ยินเสียงที่ระดับความดัง 10-20 dB

ระดับเสียงที่ 30 dB จะเป็นเสียงกระซิบเบาๆ
ระดับเสียงที่ 40-60 dB จะเป็นเสียงพูดสนทนาที่ใช้อยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ระดับเสียงที่ 80 dB เริ่มรู้สึกหนวกหู เทียบได้กับเสียงกลางถนนขณะการจราจรติดขัด
ระดับเสียงที่ 80-90 dB จะเป็นประมาณในโรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดังทำงานอยู่
ระดับเสียงที่ 90-100 dB เป็นเสียงดังของเครื่องบินขณะบินขึ้น 

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดไว้ว่าเสียงที่เริ่มมีอันตรายต่อหู คือเสียงที่มีความดังระดับ 80-90 dB ขึ้นไปส่วนช่วงเวลาก็มีความสำคัญเช่นกันเพราะพบว่า ถ้าต้องทำงานในที่มีเสียงดังระดับ 80-90 dB จะต้องทำงานนั้นไม่เกิน วันละ 7-8 ชม. เพราะถ้าเกินกว่านี้จะเกิดอาการหูอื้อ นานไปจะทำให้ประสาทหูถูกทำลายจากเสียงดังได้

การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่อหู เพื่อลดความดังของเสียงมี 2 แบบ – ที่ครอบหู จะปิดหูและกระดูกรอบ ๆ ใบหูไว้ทั้งหมด สามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 20-40 เดซิเบลเอ – ปลั๊กอุดหู ทำด้วยยาง หรือพลาสติก ใช้สอดเข้าไปในช่องหูสามารถลดระดับความดังของเสียงได้ 10-20 เดซิเบลเอ การลดระยะเวลาในการรับเสียงของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน โดยจำกัดให้น้อยลง 

เกณฑ์กำหนดของระดับเสียงที่เป็นอันตราย

ก.กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้

ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์