เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ฟิสิกส์ เชียร์
Cheer UP ฟิสิกส์
อัพคะแนนกับครูเชียร์

ฟิสิกส์ เชียร์

Tutor‘s tip

ทบทวนหน่วยวัดอุณหภูมิ
  • ครูเชียร์
  • 01.12.2565
  • 189

ทบทวนหน่วยวัดอุณหภูมิ 

    ​           เชื่อว่าหลายคนในที่นี้คงเคยได้ยินคำว่าองศากันมาบ้าง เช่น ควรเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 25 องศา  น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศา  

หรือ ตอนนี้อุณหภูมิติดลบ 3 องศา  ซึ่งในประเทศไทย คำว่าองศา  เราย่อมาจาก องศาเซลเซียส  แต่หน่วยวัดอุณหภูมิยังมีมากกว่านั้น  

และวันนี้ได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่อจะมาดูกันว่าหน่วยวัดอุณหภูมิมีอะไรกันบ้าง 

 

></p><p> </p><p> </p><h4 style=​​

 

           รูปภาพข้างบนเป็นสูตรการเปลี่ยนหน่วยอุณหภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในวิชาฟิสิกส์นั้นเอง เรามาดูกันว่าแต่ละตัวมีอะไรกันบ้าง


เคลวิน (K)

เคลวินเป็นหน่วยพื้นฐานของอุณหภูมิในระบบ SI (International System of Units) ตัวย่อของหน่วยเคลวินคือ K 

หน่วยเคลวินถูกนำเสนอครั้งแรกโดยวิลเลียมทอมสัน (ลอร์ดเคลวิน)   เคลวินมักใช้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน 

องศาเซลเซียส (° C)

ปัจจุบันเซลเซียสเป็นหน่วยสำหรับอุณหภูมิในระบบ SI  ตัวย่อของเซลเซียสคือ °C (องศาเซลเซียส) องศาเซลเซียสถูกนำเสนอครั้งแรกโดยแอนเดอร์ส เซลเซียส ชาวสวีเดน 

หน่วยเซลเซียสถูกใช้งานในชีวิตประจำวันมากกว่าเคลวินและเป็นที่นิยมทั่วโลกแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ในสหรัฐอเมริกามากนัก

องศาฟาเรนไฮต์ (° F)

ตัวย่อของหน่วยฟาเรนไฮต์คือ° F สเกลฟาเรนไฮต์คิดค้นเป็นครั้งแรกโดยชาวดัตช์ชื่อ Gabriel Fahrenheit ในปีคศ 1724  

ฟาเรนไฮต์ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา ในแคริบเบียนและยังใช้ควบคู่กับเซลเซียสในออสเตรเลียและในสหราชอาณาจักร

องศาโรเมอร์

องศาโรเมอร์ ตัวย่อคือ °​ R คือหน่วยวัดอุณหภูมิที่คิดค้นขึ้นโดย เรอเน่ อังตวน เฟโชต์ เดอ โรเมอร์ 

(René Antoine Ferchault de Réaumur) นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1731 โดยกำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำอยู่ที่ 0 องศาโรเมอร์ และจุดเดือดของน้ำอยู่ที่ 80 องศาโรเมอร์ ดังนั้นช่วงอุณหภูมิ 1 องศาโรเมอร์จะเท่ากับ 1.25 องศาเซลเซียสหรือเคลวิน