เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ฟิสิกส์ เชียร์
Cheer UP ฟิสิกส์
อัพคะแนนกับครูเชียร์

ฟิสิกส์ เชียร์

Tutor‘s tip

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 1 บทเรียนสำคัญสำหรับวิชาฟิสิกส์ และเด็กสายวิทย์
  • ครูเชียร์
  • 19.10.2565
  • 209
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  อีกบทเรียนสำคัญสำหรับวิชาฟิสิกส์ และเด็กสายวิทย์

        วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาที่เด็ก ๆ สายวิทย์ คณิต ต้องเรียน และน้อง ๆ หลายคนอาจไม่ชอบวิชานี้ อาจเพราะเนื้อหายาก เข้าใจยาก สูตรเยอะ 

แต่ความจริงแล้วเนื้อหาในวิชาฟิสิกส์นั้นมักเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เช่น แสงสี คลื่น พลังงาน งาน เป็นต้น 

เรื่องเหล่านี้เรามักเจอกันอยู่แล้วในธรรมชาติ มันจึงไม่ยากมากนักในการทำความเข้าใจตัวเนื้อหาจริง ๆ รับรองว่าแค่น้อง ๆ เปิดใจกับวิชานี้ 

ฟิสิกส์ก็กลายเป็นเรื่องง่าย ๆ แน่นอน

         ​                         ><span style=​​

​          คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่น้อง ๆ ม.ปลายสายวิทย์ คณิตจะต้องเรียน ซึ่งขอบอกเลยว่าเป็นเรียนที่สนุก และน่าสนใจ 

แถมเรียนไปแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

รู้จักคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

         คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้า

หรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก 

หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า

           คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน 

และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น

 

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน 
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ คลื่นแสงที่ตามองเห็น อัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น
ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม และทางการแพทย์

สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

 

1. ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่
2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 3x108m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง
3. เป็นคลื่นตามขวาง
4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
5. ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร
6. ไม่มีประจุไฟฟ้า
7. คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้